เมนู

ปารายนานุสังคีติคาถา


ว่าด้วยความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ของมาณพ 16 คน


[441] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ ปาสาณกเจดีย์ใน
มคธชนบทได้ตรัสปารายนสูตรนี้ อันพราหมณ์มาณพ 16 คน ผู้เป็นบริวาร
ของพราหมณ์พาวรี ทูลอาราธนาแล้ว ได้ตรัสพยากรณ์ปัญหา แม้หากว่า
การกบุคคลรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งปัญหาหนึ่ง ๆ แล้วพึงปฏิบัติธรรม
อันสมควรแก่ธรรมไซร้ การกบุคคลนั้น ก็พึงถึงฝั่งโน้นแห่งชราและมรณะได้
แน่แท้ เพราะธรรมเหล่านี้ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่การถึงฝั่งโน้น เพราะ
เหตุนั้น คำว่า ปารายนะ จึงเป็นชื่อแห่งธรรมปริยายนี้.
[442] พราหมณ์มาณพผู้อาราธนา
ทูลถามปัญหา 16 คนนั้น คือ อชิตมาณพ 1
ติสสเมตเตยยมาณพ 1 ปุณณกมาณพ 1
เมตตคูมาณพ 1 โธตกมาณพ 1 อุปสีว-
มาณพ 1 นันทมาณพ 1 เหมกมาณพ 1
โตเทยยมาณพ 1 กัปปมาณพ 1 ชตุกัณณี-
มาณพผู้เป็นบัณฑิต 1 ภัทราวุธมาณพ 1
อุทยมาณพ 1 โปสาลพราหมณ์มาณพ 1
โมฆราชมาณพผู้มีปัญญา 1 ปิงคิยมาณพผู้
แสวงหาคุณอันใหญ่ 1 พราหมณ์มาณพทั้ง

16 คนนี้ ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้แสวง
หาคุณอันใหญ่ ทรงมีจรณะอันสมบูรณ์
พราหมณ์มาณพทั้ง 16 คน ได้เข้าไปเฝ้า
ทูลถามปัญหาอันละเอียด กะพระพุทธเจ้าผู้
ประเสริฐสุด.
พระพุทธเจ้าผู้เป็นมุนีได้ตรัสพยากรณ์
ปัญหาที่พราหมณ์มาณพเหล่านั้นทูลถามแล้ว
ตามที่เป็นจริง ทรงให้พราหมณ์มาณพทั้ง-
หลายยินดีแล้ว ด้วยการตรัสพยากรณ์ปัญหา
ทุก ๆ ปัญหา
พราหมณ์มาณพทั้ง 16 คนเหล่านั้น
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ผู้มี
จักษุให้ยินดีแล้ว ได้ประพฤติพรหมจรรย์
ในสำนักของพระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญา
อันประเสริฐ.
เนื้อความแห่งปัญหาหนึ่ง ๆ ที่พระ-
พุทธเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยประการใด ผู้ใด
พึงปฏิบัติตามด้วยประการนั้น ก็พึงจากฝั่ง
นี้ไปถึงฝั่งโน้นได้ ผู้นั้นเจริญมรรคอันอุดม

อยู่ ก็พึงจากฝั่งนี้ไปถึงฝั่งโน้นได้ ธรรม
ปริยายนั้นเป็นทางเพื่อไปสู่ฝั่งโน้น เพราะ
ฉะนั้น ธรรมปริยายนั้นจึงชื่อว่า ปารายนะ.

[443] ปิงคิยมาณพกล่าวคาถาว่า
อาตมาจักขับตามภาษิตเครื่องไปยัง
ฝั่งโน้น (อาตมาขอกล่าวตามที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ทรงเห็นแล้วด้วยพระญาณ)
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ปราศจากมลทิน
มีพระปัญญากว้างขวาง ไม่มีความใคร่ ทรง
ดับกิเลสได้แล้ว จะพึงตรัสมุสาเพราะเหตุ
อะไร
เอาเถิด อาตมาจักแสดงวาจาที่ควร
เปล่ง ประกอบด้วยคุณของพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงละความหลงอันเป็นมลทินได้แล้ว
ทรงละความถือตัวและความลบหลู่ได้
เด็ดขาด.
ดูก่อนท่านพราหมณาจารย์ พระ-
พุทธเจ้าทรงบรรเทาความมืด มีพระจักษุ
รอบคอบ ทรงถึงที่สุดของ ทรงล่วงภพ

ได้ทั้งหมด ไม่มีอาสวะ ทรงละทุกข์ได้
ทั้งปวง มีพระนามตามความเป็นจริงว่า
พุทโธ อันอาตมาเข้าเฝ้าแล้ว.
นกพึงละป่าเล็ก แล้วมาอยู่อาศัย
ป่าใหญ่อันมีผลไม่มาก ฉันใด อาตมา มา
ละคณาจารย์ผู้มีความเห็นน้อยแล้ว ได้
ประสบพระพุทธเจ้าผู้มีความเห็นประเสริฐ
เหมือนหงส์โผลงสู่สระใหญ่ แม้ฉันนั้น
ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม
อาจารย์เหล่าใด ได้พยากรณ์ลัทธิของตนแก่
อาตมาในกาลก่อนว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้ว
อย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ คำพยากรณ์ของ
อาจารย์เหล่านั้นทั้งหมด ไม่ประจักษ์แก่ตน
คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้น เป็นเครื่องทำความ
ตรึกให้ทวีมากขึ้น (อาตมาไม่พอใจในคำ
พยากรณ์นั้น)
พระโคดมพระองค์เดียว ทรง
บรรเทาความมืดสงบระงับ มีพระรัศมี
โชติช่วง มีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏดุจ
แผ่นดิน มีพระปัญญากว้างขวาง ได้ทรง

แสดงธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีจัญไร หา
อุปมาในที่ไหน ๆ มิได้ แก่อาตมา.

พราหมณ์พาวรีผู้อาจารย์กล่าวคาถากะพระปิงคิยะว่า
ท่านปิงคิยะ พระโคดมพระองค์ใด
ได้ทรงแสดงธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่
ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มี
จัญไร หาอุปมาในที่ไหน ๆ มิได้แก่ท่าน
เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงอยู่ปราศจาก
พระโคดมพระองค์นั้น ผู้มีพระปัญญาเป็น
เครื่องปรากฏดุจแผ่นดิน มีพระปัญญา
กว้างขวาง สิ้นกาลแม้ครู่หนึ่งเล่า.

พระปิงคิยะกล่าวคาถาตอบพราหมณ์พาวรีผู้อาจารย์ว่า
ท่านพราหมณ์ พระโคดมพระองค์ใด
ได้ทรงแสดงธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่
ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มี
จัญไร หาอุปมาในที่ไหน ๆ มิได้ แก่อาตมา
อาตมามิได้อยู่ปราศจากพระโคดมพระองค์
นั้น ผู้มีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏดุจ
แผ่นดิน มีพระปัญญากว้างขวาง สิ้นกาล
แม้ครู่หนึ่ง.

ท่านพราหมณ์ อาตมาไม่ประมาท
ทั้งกลางคืนกลางวัน เห็นอยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า
ผู้โคดมพระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วย
จักษุ ฉะนั้น อาตมานมัสการอยู่ซึ่งพระ-
พุทธเจ้าผู้โคดมพระองค์นั้นตลอดราตรี
อาตมา มาสำคัญความไม่อยู่ปราศจาก
พระพุทธเจ้าผู้โคดมพระองค์นั้น ด้วยความ
ไม่ประมาทนั้น.
ศรัทธา ปีติ มนะ และสติของอาตมา
ย่อมน้อมไปในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าผู้
โคดม พระพุทธเจ้าผู้โคดม ผู้มีพระปัญญา
กว้างขวาง ประทับอยู่ยังทิศาภาคใด ๆ
อาตมานั้นเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศาภาค
นั้น ๆ นั่นแล.
ร่างกายของอาตมาผู้แก่แล้ว มีกำลัง
และเรี่ยวแรงน้อยนั่นเอง ท่านพราหมณ์
อาตมาไปสู่พระพุทธเจ้าด้วยการไปแห่ง
ความดำริเป็นนิตย์ เพราะว่าใจของอาตมา
ประกอบแล้วด้วยพระพุทธเจ้านั้น.
อาตมานอนอยู่บนเปือกตม คือกาม
ดิ้นรนอยู่ (เพราะตัณหา) ลอยจากเกาะหนึ่ง

ไปสู่เกาะหนึ่ง ครั้งนั้นอาตมาได้เห็นพระ-
สัมพุทธเจ้า ผู้ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มี
อาสวะ.

(ในเวลาจบคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรามความแก่กล้าแห่ง
อินทรีย์ของพระปิงคิยะและพราหมณ์พาวรีแล้ว ประทับอยู่ ณ นครสาวัตถี
นั้นเอง ทรงเปล่งพระรัศมีดุจทองไปแล้ว พระปิงคิยะกำลังนั่งพรรณนา
พระพุทธคุณแก่พราหมณ์พาวรีอยู่. ได้เห็นพระรัศมีและคิดว่า นี้อะไร
เหลียวแลไป ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประหนึ่งประทับอยู่เบื้องหน้าตน จึง
บอกแก่พราหมณ์พาวรีว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว พราหมณ์พาวรีได้ลุกจาก
อาสนะประคองอัญชลียืนอยู่. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแผ่พระรัศมี
แสดงพระองค์แก่พราหมณ์พาวรี ทรงทราบธรรมเป็นที่สบายของพระปิงคิยะ
และพราหมณ์พาวรีทั้งสองแล้ว เมื่อจะตรัสเรียกแต่พระปิงคิยะองค์เดียว จึง
ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า)
ดูก่อนปิงคิยะ พระวักกลิ พระ-
ภัทราวุธะ และพระอาฬวีโคดม เป็นผู้มี
ศรัทธาน้อมลงแล้ว (ได้บรรลุอรหัตด้วย
ศรัทธาธุระ) ฉันใด แม้ท่านก็จงปล่อย
ศรัทธาลง ฉันนั้น ดูก่อนปิงคิยะ เมื่อท่าน
น้อมลงด้วยศรัทธา ปรารภวิปัสสนา โดยนัย
เป็นต้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ก็จักถึง

นิพพาน อันเป็นฝั่งโน้นแห่งวัฏฏะอันเป็น
บ่วงแห่งมัจจุราช.

พระปิงคิยะเมื่อจะประกาศความเลื่อมใสของตนจึงกราบทูลว่า
ข้าพระองค์นี้ย่อมเลื่อมใสอย่างยิ่ง
เพราะได้ฟังพระวาจาของพระองค์ผู้เป็นมุนี
พระองค์มีกิเลสดุจหลังคาอันเปิดแล้ว ตรัสรู้
แล้วด้วยพระองค์เอง ไม่มีกิเลสดุจเสาเขื่อน
ทรงมีปฏิภาณ ทรงทราบธรรมเป็นเหตุกล่าว
ว่าประเสริฐยิ่ง ทรงทราบธรรมชาติทั้งปวง
ทั้งเลวและประณีต ด้วยพระอภิญญา
พระองค์เป็นศาสดาผู้กระทำที่สุดแห่งปัญหา
ทั้งหลาย แก่เหล่าชนผู้มีความสงสัยปฏิญาณ
อยู่ นิพพานอันกิเลสมีราคะเป็นต้นไม่พึง
นำไปได้ เป็นธรรมไม่กำเริบ หาอุปมาใน
ที่ไหน ๆ มิได้.
ข้าพระองค์จักถึงอนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุแน่แท้ ข้าพระองค์ไม่มีความ
สงสัยในนิพพานนี้เลย ขอพระองค์จงทรงจำ
ข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปแล้ว (ใน
นิพพาน) ด้วยประการนี้แล.

จบปารายนวรรคที่ 5

อรรถกถาปารายนานุสังคีติคาถา


ต่อจากนี้ไปพระสังคีติกาจารย์ เมื่อจะสรรเสริญเทศนา จึงได้กล่าวคำ
มีอาทิว่า อิทมโวจ ภควา. ดังนี้
ในบทเหล่านั้น บทว่า อิทมโวจ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ปารายนสูตรนี้. บทว่า ปริจารกโสฬสนฺนํ พราหมณ์มาณพ 16 คน
ผู้เป็นบริวาร คือพราหมณ์ 16 คน พร้อมด้วยปิงคิยะผู้เป็นบริวารของพาวรี-
พราหมณ์ หรือพราหมณ์ 16 คน ผู้เป็นบริวารของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น
พระพุทธเจ้า ชื่อว่า พราหมณ์ 16 คนผู้เป็นบริวาร. บริวารเหล่านั้นเป็น
พราหมณ์ทั้งหมด. บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น บริษัทของพราหมณ์ 16 คน
นั่งข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย และข้างขวางข้างละ 6 โยชน์ นั่งแถวตรง 12
โยชน์. บทว่า อชฺฌิตฺโถ แปลว่า ทูลอาราธนา. บทว่า อตฺถมญฺญาย รู้
ทั่วถึงอรรถ คือรู้ความแห่งบาลี. บทว่า ธมฺมมญฺญาย รู้ทั่วถึงธรรม คือรู้
ธรรมในบาลี. พระสังคีติกาจารย์ตั้งชื่อธรรมปริยายนี้ อย่างนี้ว่า ปารายนะ
แล้วเมื่อจะประกาศชื่อของพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวว่า อชิโต ติสฺสเมตฺเตย-
โย ฯเปฯ พุทฺธเสฏฺฐมุปคามุํ
พราหมณ์ 16 คน คือ อชิโต ติสฺสเมตฺเตย-
เตยยะ ฯลฯ ได้เข้าไปเฝ้าทูลถามปัญหากะพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนจรณํ ผู้มีจรณะสมบูรณ์ คือถึง
พร้อมแล้วด้วยศีลในพระปาติโมกข์เป็นต้น อันเป็นเหตุใกล้ให้ถึงพระนิพพาน.
บทว่า อิสึ ได้แก่ ผู้แสวงหาคุณใหญ่ คำที่เหลือชัดแล้ว. ต่อจากนี้ไป บทว่า
พฺรหฺมจริยมจรึสุ ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายได้ประพฤติมรรคพรหมจรรย์.
เพราะฉะนั้น บทว่า ปารายนํ ท่านอธิบายว่า เป็นทางไปสู่นิพพานอันเป็น
ฝั่งโน้นนั้น.